วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 8 การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS

คอมเม้นท์เด็ดๆกลอนหวานๆโค้ดhi5 คลิกที่นี้/ code hi5 คอมเม้นท์2,Give me five  Comment โดนๆคลิกที่นี่เลย...

การใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS          สรุปประเด็นดังนี้
ขั้นตอน
คลิก Start -> All Programs -> SPSS for Windows -> SPSS 12.0 for Windows หรือ Double Click ไอคอนบนหน้าจอ Windows 
ถ้าปรากฏหน้าจอ What would you like to do? ให้คลิกสี่เหลี่ยมด้านล่างซ้ายให้มีเครื่องหมายถูก แล้วคลิกปุ่ม OK คลิกปุ่ม Cancel

 รายละเอียดของโปรแกรม

 1.ความหมายของสถิติ

(1) สถิติ หมายถึง การบันทึกตัวเลขเพื่อแสดงให้เห็นข้อเท็จจริงในเชิงเปรียบเทียบ

(2) สถิติ หมายถึง ตัวเลขหรือข้อมูลซึ่งแทนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เราสนใจ
(3) สถิติ หมายถึง หลักฐานที่รวบรวมเอาไว้เป็นตัวเลขสำหรับเปรียบเทียบ

(4) สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุป

2.ค่าเฉลี่ย

ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด

ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

มัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

3.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างมีความหมายต่างกัน กล่าวคือ

ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ

กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ

4.ข้อมูลระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale)

หมายถึง ข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก เช่น เพศ อาชีพ ศาสนา ผิวสี ฯลฯ ไม่สามารถนำมาจัดลำดับ หรือนำมาคำนวณได้

-ข้อมูลระดับอันดับ (Ordinal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ แล้วยังสามารถบอกอันดับที่ของความแตกต่างได้ แต่ไม่สามารถบอกระยะห่างของอันดับที่แน่นนอนได้ หรือไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าอันดับที่จัดนั้นมีความแตกต่างกันของระยะห่างเท่าใด เช่น อันดับที่ของการสอบของนักศึกษา อันดับที่ของผู้เข้าประกวดนางสาวไทย ฯลฯ

-ข้อมูลระดับช่วงชั้น,อันตรภาค (Interval Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีช่วงห่าง หรือระยะห่างเท่าๆ กัน สามารถวัดค่าได้แต่เป็นข้อมูลที่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ GPA คะแนน I.Q. ฯลฯ

-ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีมาตราวัดหรือระดับการวัดที่สูงที่สุด คือนอกจากสามารถแบ่งกลุ่มได้ จัดอันดับได้ มีช่วงห่างของข้อมูลเท่าๆกันแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่มีศูนย์แท้เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง รายได้ จำนวนต่างๆ ฯลฯ

5.ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable)

เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้

ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด

6. สมมุติฐาน

หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ หรือตอบปัญหาต่าง ๆ โดยอาศัย ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ฯลฯ เป็นการเสนอคำตอบชั่วคราวของปัญหาที่ยังไม่ได้ทำการตรวจสอบ โดยอาศัยข้อมูลจากการไปตรวจสอบเอกสาร หรือเป็นการเดาอย่างมีเหตุผลซึ่งสมมุติฐานนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นจริงเสมอไป

ประเภทของสมมุติฐาน ในวงการวิจัยนั้น สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภทคือ

1. สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ

2. สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน

7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้

F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป

T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป

การใช้โปรแกรม SPSS


1. ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรม

คลิก Start -> All Programs -> SPSS for Windows -> SPSS 11.5 for Windows

หรือ Double Click ไอคอนบนหน้าจอ Windows

2. ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWS

เมื่อเปิดโปรแกรมจะได้หน้าต่างที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

-Title Bar บอกชื่อไฟล์ เช่น Untitled-SPSS Data Editor (หากเปิดครั้งแรก)

-Menu Bar คำสั่งการทำงาน

-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร

-Cases ชุดของตัวแปร

-Variable กำหนดชื่อตัวแปร

-View Bar มีสองส่วน ได้แก่ Variable View (สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร) และ Data View (เพิ่มและแก้ไขตัวแปร)

-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน

3. การป้อนข้อมูลจากหน้าจอData Editor

3.1 เปิด SPSS Data Editor โดยไปที่ File -> New -> Data

3.2 กำหนดชื่อและรายละเอียด จากหน้าจอ Variable View

3.3 ป้อนข้อมูล Data View

3.4 บันทึกข้อมูล File -> Save

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


Academic Chaingmai 52

My Friend

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...