เกียรติภูมิที่ยิ่งใหญ่
ไม่ได้อยู่ที่เราไม่เคยล้ม
ไม่ได้อยู่ที่เราไม่เคยล้ม
แต่อยู่ที่เราลุกขึ้นทุกครั้งที่เราล้มต่างหาก
***
ผู้ชนะเหนือศัตรูนับพันในสงคราม ไม่อาจนับชนะเป็นผู้สูงส่ง
ผู้ชนะตนเองได้ต่างหาก จึงเป็นผู้ชนะที่แท้จริง
*****
"ดูคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น"
"หูโต ตาแหลม ปากเล็ก"
*ปกครองตนเองด้วยสมอง
ปกครองลูกน้องด้วยน้ำใจ
????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????????* วิสัยทัศน์(การกำหนดทิศทางขององค์กร / สถานศึกษา)
* ความเข้าใจงานในหน้าที่ (โครงสร้าง / ภารกิจ)
* ความสามารถ/ทักษะ/ประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่(Function Expert)
* ความสามารถในการประเมินผลงาน (Evaluation)
* ความเป็นผู้นำทางวิชาการ (Academic Leader)
* ความสามารถในการดำเนินการ / ควบคุมงาน (Plan –Do –Check -Act)
* ความสามารถในการสื่อสาร (Communication)
* ความสามารถในมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation)
* การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management)
* การสร้างแรงจูงใจ / แรงบันดาลใจ (Motivation/Inspiration)
* การสร้างทีมงาน (Team Builder)
* ความปรีชาสามารถ (Capability)=Potentiality + Competency
* ความองอาจสง่างาม (Personality)= Introvert / Extrovert
* คุณธรรมจริยธรรม (Morality)= Physical / Emotional
* จิตวิญญาณผู้บริหาร (Spirit of Administrator)
หรืออาจกล่าวว่า ผู้บริหารนั้นต้องประกอบด้วย
1. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2. มีจิตวิญญาณนักบริหาร ให้มีภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิฐาน
3. เป็นผู้นำทางการศึกษาผู้บริหารมืออาชีพต้องเป็นผู้มีความรู้ด้านการศึกษา เป็นผู้นำทางวิชาการ
4. มีความรู้ความสามารถในการบริหาร รู้ในหลักการบริหาร เทคนิคการบริหาร และการวางแผนกลยุทธ์
5. มีผลงานที่แสดงถึงความชำนาญในการบริหารสถานศึกษา
6. นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. มีภูมิรู้ คือ มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการในเรื่องต่างๆ ได้แก่
1.1 มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการบริหารงาน
1.2 มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการในการประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างเหมาะสมและเกิดผลดี
1.3 มีความรอบรู้ด้านวิชาการ หลักสูตร ปรัชญาการศึกษา หลักจิตวิทยาด้านต่างๆ ตลอดจนวิทยาการใหม่ๆ
1.4 มีทักษะในการครองตน ครองคน และครองงาน ตลอดจนการบริหารความขัดแย้ง
1.5 มีภาวะผู้นำ Leadership
1.6 เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ที่มีความสามารถบริหารจัดการในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง (Change management)
2. มีภูมิธรรม คือ การบริหารจัดการบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นการบริหารจัดการโดยอาศัยหลักต่างๆ ดังนี้
2.1 หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
2.2 หลักคุณธรรม (Morality)
2.3 หลักความโปร่งใส (Accountability)
2.4 หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
2.5 หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
2.6 หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
3. ภูมิฐาน คือ เป็นผู้ที่มีพื้น และฐานหรือภูมิหลังแห่งการสะสมในการคิดในการสร้างรู้จักการมองที่กว้าง ลึก มองเห็นเหตุแห่งปัญหาซึ่งจะเกิดขึ้นโดยการสรุปจากประสบการณ์ที่สร้างสมมานั้น เป็นคนช่างสังเกตและมองผลของการเกิดนั้นจากเหตุ มีวิสัยทัศน์ ฯลฯ
4. มีบุคลิกภาพที่ดี ทั้งบุคลิกภาพทางกาย ทางอารมณ์และจิตวิทยา ทางสังคมและทางสติปัญญา กล่าวคือ
4.1 บุคลิกภาพทางกาย แบ่งเป็นองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบ ประการแรก คือ รูปลักษณ์ภายนอกของผู้บริหารซึ่งเป็นที่ปรากฏแก่สายตาผู้คน ความสะอาดของร่างกายเป็นความสำคัญอันดับแรก การแต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมกับตำแหน่ง วัย และสถานการณ์ ประการที่สองคือ บุคลิกภาพภายใน ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการพูดการโต้ตอบที่ดี มีความฉลาดแหลมคมในการสนทนา เป็นผู้นำกลุ่มได้ และต้องมีข้อมูลอย่างเพียงพอ เพื่อประกอบการตอบโต้อย่างแหลมคมได้
4.2 บุคลิกภาพทางอารมณ์และจิตวิทยา ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดีต้องเป็นผู้มีความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่หงุดหงิด ฉุนเฉียว บ่นว่าตลอดเวลา มีความกล้าหาญในการเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ อย่างไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักชมเชย พูดจาโน้มน้าวจูงใจคนให้ทำงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงาน สังคม หรือประเทศชาติได้
4.3 บุคลิกภาพทางสังคม ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในการศึกษาหาความรู้ในพิธีการต่างๆ ตามบรรทัดฐาน (Norms) ของสังคม เพื่อจะได้ปฏิบัติตามมารยาทสากลได้อย่างถูกต้อง สามารถเป็นตัวอย่างให้คำแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดทั้งคนรอบข้างได้
4.4 บุคลิกภาพทางสติปัญญา ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดี ต้องมีความรู้ มีความสามารถ มีความรอบรู้ด้านต่างๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พอที่จะเป็นผู้นำกลุ่ม สามารถคิดสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สถานศึกษาได้ ซึ่งอาจสรุปได้ว่าสติปัญญาและความรอบรู้ในวิชาชีพของผู้บริหาร เป็นสิ่งสำคัญมากในการบริหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น